เมนู

บัดนี้ ท้าวสหัมบดีพรหมนั้น ทูลอ้อนวอนพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อประ
โยชน์ใด เพื่อแสดงประโยชน์นั้นจึงกล่าวคำเป็นต้นว่า สนฺตีธ สตฺตา ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺติ แปลว่า มีอยู่ อันเขาได้อยู่ อธิบายว่าสัตว์
ทั้งหลายที่มาสู่คลองพุทธจักษุ [ปรากฏ] มีอยู่. ศัพท์ว่า

อิธ

นี่เป็นนิบาต ใช้
ในการอ้างถึงถิ่นที่ ศัพท์ว่า อิธนี้นั้น บางแห่งท่านกล่าวหมายถึงศาสนา เหมือน
อย่างที่ตรัสว่า อิเธว ภิกขเว สมโณ อิธ ทุติโย สมโณ อิธ ตติโย สมโณ
อิธ จตุตฺโถ สมโณ สุญฺญา ปรปฺปวาทา สมเณกิ อญฺเญหิ
ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย สมณะที่ 1 สมณะที่ 2 สมณะที่ 3 สมณะที่ 4 มีอยู่ในศาสนา
นี้เท่านั้น ลัทธิอื่นว่างเปล่าจากสมณะผู้รู้.
บางแห่งหมายถึง โอกาส เหมือนอย่างที่ท้าวสักกเทวราชตรัสว่า
อิเธว ติฏฺฐมานสฺส เทวภูตสฺส เม สิโต
ปุนรายุ จ เม ลทฺโธ เอวํ ชานาหิ มาริส.

เมื่อเราเป็นเทพตั้งอยู่ในโอกาสนี้นี่แล เราก็ได้
อายุต่อไปอีก โปรดทราบอย่างนี้เถิด ท่านผู้นิรทุกข์.

บางแห่ง ก็เป็นเพียงปทปูรณะ ทำบทให้เต็มเท่านั้น เหมือนอย่างที่ตรัส
ไว้ว่า อิธาหํ ภิกฺขเว ภุตฺตาวี อสฺสํ ปวาริโต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราแลบริโภคอาหารเสร็จแล้ว ก็พึงห้าม ไม่ให้เขาถวายอีก [โดยชัก
พระหัตถ์ออกจากบาตร] บางแห่งหมายถึงโลก เหมือนอย่างที่ตรัสว่า อิธ
ตถาคโต โลเก อุปฺปชฺชติ พหุชนหิตาย พหุชนสุขาย
ตถาคตอุบัติ
ในโลกนี้ ก็เพื่อประโยชน์สุขแก่ชนเป็นอันมาก แม้ในที่นี้ อิธ ศัพท์ ก็พึงทราบ
ว่า ท่านกล่าวหมายถึงโลกเท่านั้น เพราะฉะนั้น จึงมีความว่าในสัตว์โลกนี้. บทว่า
สตฺตา ความว่า ชนทั้งหลาย ติด ขัด ข้อง คล้อง เกี่ยว อยู่ในขันธ์ทั้งหลาย